ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=KQyH4KNQyU4
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อาหารพื้นเมืองจังหวัดพะเยา
อาหารพื้นเมืองจังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยามีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น วัฒนธรรมไทยลื้อ วัฒนธรรมคนเชื้อสายจีน วัฒนธรรมเชื้อสายอิสลาม วัฒนธรรมไทยพุทธ วัฒนธรรมศาสนาคริสต์ เป็นต้น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีอาหารพื้นบ้านที่บ่งบอกวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน และเชื้อชาติ
อาหารพื้นบ้านของจังหวัดพะเยา มีหลากหลายประเภท ทั้ง แกง, ผัด, คั่ว, จอ, นึ่ง, ลาบ, น้ำพริก, แอ๊บ, ขนม เป็นต้น
แกง เป็นอาหารประเภทน้ำ ที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อ มีวิธีการทำ โดยใส่น้ำ พอเดือด ใส่เครื่องปรุง แล้วใส่ส่วนประกอบหลักที่ต้องการแกงตามลำดับ บางสูตร นิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อย จนเครื่องแกงและส่วนผสมอื่น เช่น หมู ไก่ จนมีกลิ่นหอมก่อน จึงจะเติมน้ำลงไป และจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามไป เมื่อน้ำเดือด หรือเมื่อหมู หรือไก่ได้ที่แล้ว เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ปลาร้า กะปิ ถ้าเป็นแกงที่มีเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องปรุงด้วย จะใส่ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาว แกงพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ เช่น แกงฮังเล แกงโฮ๊ะ แกงคั่ว แกงส้มปลา แกงอ่อม แกงสะแล แกงผักเฮือด แกงกระด้าง แกงปลี แกงผักกาด แกงแค แกงตูน แกงชะอม แกงขนุน แกงบอน แกงผักหวาน แกงหน่อไม้ แกงหยวก แกงเห็ด ข้าวแรมฟืน จอผักกาด เป็นต้น
แกงฮังเล
แกงโฮ๊ะ
แกงสะแล
แกงผักหวาน
แกงกระด้าง
น้ำพริก เป็นอาหารหรือเครื่องปรุงชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลัก คือ พริก เกลือ หอม กระเทียม เป็นต้น อาจมีส่วนผสมอื่นๆ เช่น กะปิ ถั่วเน่าแข็บ ปลาร้า มะเขือเทศ ข่า ตะไคร้ เพิ่มเข้าไป แล้วแต่จะปรุงเป็นน้ำพริกแต่ละชนิด วิธีการปรุง จะนำส่วนผสมทั้งหมดมาโขลกรวมกันในครก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกบ น้ำพริกปลา น้ำพริกพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ เช่น น้ำพริกอ่อง น้ำพริกแคบหมู น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น
น้ำพริกน้ำปู
น้ำพริกน้ำผัก
น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกหนุ่ม
น้ำพริกแคบหมู
ขนม เป็นอาหารประเภทของหวาน ปรุงด้วยแป้งและกะทิ และน้ำตาล หรือน้ำอ้อย โดยปกติมักจะทำขนม เมื่อมีเทศกาล โอกาสพิเศษ หรือพิธีกรรมเท่านั้น และมักจะเป็นการเตรียมเพื่อทำบุญ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันสงกรานต์ งานประเพณี งานทำบุญ ขนมที่นิยมทำ เช่น ขนมจ็อก ข้าวต้มหัวงอก ขนมลิ้นหมา ข้าววิตู ขนมกล้วย ขนมศิลาอ่อน หรือซาลาอ่อน ขนมวง ข้าวแต๋น ของว่าง เช่น เหมี้ยง กระบอง (ผักทองทอด ปลีทอด) หลังอาหารชาวพะเยาสมัยโบราณนิยมรับประทานเหมี่ยง เรียกว่า "อมเหมี้ยง"
ขนมจอก
เมี้ยง
ข้าวแคบ
ข้าวหนึกงา
ขนมแตงไทย
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/433314
แหล่งท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยา มีแหลงทองเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางธรรมชาติ โบราณสถานและประวัติศาสตร ศิลปกรรม และวัฒนธรรมประเพณี โดยมีแหลงทองเที่ยวที่สําคัญดังนี้แหลงทองเที่ยวทางธรรมชาติ
1. กวานพะเยา
“กวานพะเยา” หรือ “หัวใจของเมืองพะเยา” อยูในเขตอําเภอเมืองพะเยา เปนทะเลสาบน้ําจืด ใหญเปนอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 4 ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน) คําวา "กวาน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เปนแหลงน้ําธรรมชาติอยูใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเปนฉาก หลัง เกิดจากน้ําที่ไหลมาจากหวยตางๆ 18 สาย มีปริมาณน้ําเฉลี่ยปละ 29.40 ลานลูกบาศกเมตร มีพันธปลาน้ําจืด กวา 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร เปนแหลงเพาะพันธุปลาตางๆ ประกอบกับ ทัศนียภาพโดยรอบกวานพะเยา มีความสวยงามประทับใจแกผูพบเห็น จึงกลายเปนแหลงทองเที่ยวตามธรรมชาติอีกทั้งบริเวณริมกวานพะเยา มีรานอาหารและสวนสาธารณะใหประชาชนและนักทองเที่ยวไดพักผอนหยอนใจ เนื่องจากกวานพะเยาในอดีต แตเดิมเคยเปนที่ราบลุมแมน้ํามีสายน้ําอิงไหลพาดผานคดเคี้ยวทอดเปนแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรด ขอบกวานฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใตประกอบกับมีหนองน้ํานอยใหญหลายแหงและรองน้ําหลายสายที่ไหลลงมา จากขุนเขาดอยหลวงแลวเชื่อมติดตอถึงกัน ทําใหพื้นที่ราบลุมแมน้ําแหงนี้มีความอุดมสมบูรณเปนอยางมาก จึงทําใหพื้นที่แหงนี้มีผูคนเขามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยูเปนชุมชนนานนับตั้งแตโบราณ
2. อุทยานแหงชาติดอยหลวง
อุทยานแหงชาติดอยหลวงมีพื้นที่ครอบคลุมอยูในทองที่อําเภอแมสรวย อําเภอพาน อําเภอเวียงปาเปา
จังหวัดเชียงราย อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง และอําเภอแมใจ อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา เปนอุทยานแหงชาติ
ที่ไดยกฐานะมาจากวนอุทยานน้ําตกจําปาทอง วนอุทยานน้ําตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้ําตกปูแกง และวนอุทยาน
น้ําตกวังแกว รวม 4 แหง ที่มีพื้นที่ติดตอเปนผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติและจุดเดนเปนแหลงทองเที่ยว
ที่มีความสวยงามมากแหงหนึ่งของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,170 ตารางกิโลเมตร หรือ 731,250 ไร
อุทยานแหงชาติดอยหลวงไดประกาศใหเปนอุทยานแหงชาติ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2533
3. น้ําตกจําปาทอง
น้ําตกจําปาทอง เปนน้ําตกที่พบเห็นในสภาพปาดิบชื้นทั่ว ๆ ไป มีลักษณะเปนน้ําตกสูงชัน
น้ําใสสะอาด น้ําตกลงมาเปนสายคลายงาชาง หัวชางบาง ซึ่งราษฎรในทองถิ่นก็ตั้งชื่อชั้นของน้ําตกที่เห็นตามลักษณะ
ของน้ําตกที่ปรากฏใหเห็น การเดินทางมีถนนลาดยาง แยกจากถนนสายเชียงราย - พะเยา ตรงหลักกิโลเมตรที่ 7
กอนจะถึงตัวจังหวัดพะเยาเดินทางเขาไปอีกประมาณ 16 กิโลเมตร ก็ถึงบริเวณน้ําตก
4. อางเก็บน้ําหวยชมพู– ผาเทวดา
อางเก็บน้ําหวยชมพู–ผาเทวดา มีกิจกรรมที่นิยมในการทองเที่ยว คือเดินปาและโรยตัวหนาผาเทวดา
เดิมเรียกวา “หนาผากิ่งปาแฝด” แตภายหลังเรียกวา “หนาผาเทวดา” บริเวณนี้มีถ้ํานอยใหญอยูกวาสิบแหง
ควรแวะพักผอนเตรียมความพรอมของรางกายคางคืนที่โฮมเสตยบานสันโคงกอน เพื่อเตรียมตัวสําหรับการเดินปา
ปนผาเทวดา ตั้งแตการโรยตัว ณ จุดโรยตัวโดยจะตองนั่งรถขับเคลื่อนสี่ลอไปถึงจนสุดของถนน พรอมเดินเทา
ประมาณ 3กิโลเมตร เสนทางคอนขางลําบากและทาทาย ใชระยะเวลาการเดินประมาณ 3ชั่วโมง เหมาะแกนักผจญภัย
สวนอุปกรณสําหรับโรยตัว ถุงมือ หมวกตะขอเหล็กล็อค ฯลโดยทางอบต.สันโคง ไดจัดเตรียมใหบริการอยางครบครัน
โดยจะจัดใหมีการโรยตัวที่ความสูง 25 เมตร, 50 เมตร และ 110 เมตร พรอมเจาหนาที่ที่ชํานาญคอยใหการแนะนํา
การโรยตัวและดูแลความปลอดภัยอยางใกลชิด เหมาะกับนักทองเที่ยวที่ชอบธรรมชาติและรักความตื่นเตน
ระหวางทางที่เดินไปกลับหนาผาเทวดานั้น จะเดินทางผานถ้ําฝนแสนหา ซึ่งเปนถ้ําที่มีน้ําตกไหลลงมาคลายสายฝนและจะพบนกยูงมากในชวงปลายฝนตนหนาวและจะมีดอกไมปาขึ้นอยูบริเวณน้ําตกหวยชมพู โดยเฉพาะบริเวณ
ชั้นที่ 3 ของน้ําตก เรียกวา “ตาดหัวชาง”
5. หนองเล็งทราย
การเดินทางมาทองเที่ยวหนองเล็งทรายนั้น ตองใชถนนทางหลวงหมายเลข 1 มุงหนาสูทิศเหนือ
พะเยา-เชียงราย มาจนถึงแยกศรีบุญเรือง เลี้ยวขวาเขาถนนพหลโยธินสายใน เดินทางประมาณ 1 กิโลเมตร
ถึงวัดโพธารามทางดานซายมือ แตใหเลี้ยวซายเขาถนนขางวัดไปจนสุดทางถนนจะพบกับหนองน้ําแหงอําเภอแมใจ
เปนหนองน้ําขนาดใหญแหงนี้มีเนื้อที่ประมาณ 5,500 ไร ครอบคลุมหลายตําบล ทัศนียภาพสวยงามมาก
6. อุทยานแหงชาติภูซาง
จากขอมูลของกรมอุทยานแหงชาติสัตวปาและพันธุพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอม ไดกลาวถึง“อุทยานแหงชาติภูซาง” นั้นมีขนาดพื้นที่ประมาณ 284.8ตารางกิโลเมตร (17,8049.62 ไร)
อยูในเขตระหวางอําเภอเทิง จ.เชียงราย กับ อ.ภูซาง ถึง อ.เชียงคํา จ.พะเยา และมีอาณาเขตติดตอกับ สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว
7. อุทยานแหงชาติดอยภูนาง
อุทยานแหงชาติดอยภูนางมีสิ่งนาสนใจมากมายโดยเฉพาะนกยูงและน้ําตกตางๆ มีเนื้อที่ประมาณ
538,124 ไร หรือ 861 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 อําเภอ ไดแก อ.เชียงมวน อ.ปง อ.ดอกคําใต สภาพปา
สวนใหญเปนปาเบญจพรรณและปาเต็งรัง มีสัตวปาหายากหลายชนิด เสือปลา แมวลายหินออน แมวดาว เลียงผา
ตัวนิ่ม ฯลฯ ที่สําคัญคือ นกยูง
แหลงทองเที่ยวทางดานประวัติศาสตรและโบราณสถาน
1. วัดศรีโคมคํา
วันศรีโคมคํา เปนพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอยาง ตั้งอยูในเขตเทศบาลเมืองพะเยา
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกวา "วัดพระเจาองคหลวง" หรือ "วัดพระเจาตนหลวง" มีพระพุทธรูปองคใหญที่สุด
ในลานนาไทย ขนาดหนาตักกวาง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกลาวถึงอยางพิสดารวา ปรากฏพญานาค
ไดนําทองคํามาใหตายายคูหนึ่ง ที่ตั้งบานอยูริมกวานพะเยา เพื่อสรางพระพุทธรูปองคนี้ ซึ่งตายายคูนี้ใชเวลา
สรางถึง 33 ป (พ.ศ. 2034 - 2067) และกาลตอมาเรียกวา "พระเจาองคหลวง" ในปจจุบันพระเจาองคหลวง
มิใชเปนแตเพียงพระพุทธรูปคูเมืองพะเยาเทานั้น แตถือเปนพระพุทธรูปคูบานคูเมืองอาณาจักรลานนาไทยดวย
โดยในเดือนพฤษภาคมจะมีงานนมัสการพระเจาองคหลวงเปนประจําทุกป เรียกวา "งานประเพณีนมัสการ
พระเจาองคหลวงเดือนแปดเปง"
2. วัดติโลกอาราม
วัดติโลกอาราม เปนโบราณสถานแหงหนึ่งที่จมอยูในกวานพะเยาคนพบในป พ.ศ. 2482
กรมประมงสรางประตูกั้นน้ําในกวานพะเยาเพื่อกักเก็บน้ํา เปนวัดที่พระเจาติโลกราช แหงราชอาณาจักรลานนา
โปรดใหพระยายุทธิษถิระ เจาเมืองพะเยา สรางขึ้นในราวป พ.ศ. 2019-2029 ในบริเวณที่เรียกวา “บวกสี่แจง” ซึ่งแตเดิมเปนชุมชนโบราณ และมีวัดอยูเปนจํานวนมาก โดยวัดแหงนี้เปนชื่อวัดที่ปรากฏอยูในศิลาจารึก
ซึ่งถูกคนพบไดในวัดรางกลางกวานพะเยาหรือในบริเวณหนองเตา จากขอความที่ปรากฏในศิลาจารึก ทําใหรูวาวัดนี้
มีอายุเกาแก มากกวา 500 ป สรางในสมัยพระเจาติโลกราช กษัตริยผูครองเมืองเชียงใหม วัดนี้มีความสําคัญ
ทางประวัติศาสตรเนื่องจากผูปกครองเมืองพะเยาไดสรางถวาย เพื่อเปนการเทิดพระเกียรติแกพระเจาติโลกราช
ในฐานะทรงเปนกษัตริยผูยิ่งใหญแหงอาณาจักรลานนา
3. วัดอนาลโยทิพยาราม
“วัดอนาลโยทิพยาราม” หรือ “ดอยบุษราคัม” ตั้งอยูบนดอยบุษราคัม บานสันปามวง หมูที่ 6
ต.สันปามวง จังหวัดพะเยา จากตัวเมืองไปเสนทางพะเยา - เชียงราย ประมาณ 7 กม.แยกซายไปตามทางหลวง
หมายเลข 1127 ประมาณ 9 กิโลเมตร สรางโดยพระปญญาพิศาลเถร (พระอาจารยไพบูลยฯ) เปนอุทยาน
พระพุทธศาสนา มีศาสนสถานที่สวยงามไดแก พระพุทธรูปศิลปสุโขทัยองคใหญ พระพุทธรูปปางตางๆ พระพุทธลีลา
พุทธคยาเกงจีนประดิษฐานเจาแมกวนอิม หอพระแกวมรกตจําลองทําดวยทองคํา ฯลฯ มีบรรยากาศรมรื่น
พื้นที่กวางขวาง แวดลอมไปดวยทรัพยากร ปาไม จากยอดดอยสามารถชมความสวยงามของทัศนียภาพของกวานพะเยา
และตัวเมืองของพะเยา โดยสามารถเดินทางทองเที่ยวที่วัดอนาลโยใน 2 ลักษณะตามอัธยาศัยทั้งทางรถยนต
และทางบันไดเดินเทา โดยทางวัดไดจัดที่พักลักษณะรีสอรท เพื่อบริการนักทองเที่ยวไวแลวอยางครบครัน
4. โบราณสถานเวียงลอ
สถานที่ตั้งของโบราณสถานเวียงลอหางจากตัวอําเภอจุนไปตามทางหลวงหมายเลข1021ถึงบานหวยงิ้ว
ประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกเปนทางเดินถึงบานน้ําจุน รวม 12 กิโลเมตร ถัดมาจะพบทางแยกเปนทางเดิน
ถึงบานน้ําจุนอีก 12 กิโลเมตร ปรากฏซากกําแพงเมืองเกา วัดรางอยูมากมาย จะมีพระธาตุและวัดเกาแก
คือ วัดศรีปงเมือง เมืองลอหรือเวียงลอ มีคูเมืองและกําแพงคันดิน 1 - 2 ชั้น ลอมรอบ ตั้งอยูที่ราบระหวาง
เชิงดอยจิกจองและแมน้ําอิง
5. วัดพระธาตุจอมทอง
วัดพระธาตุจอมทอง ศาสนสถานที่เปนจุดหมายปลายทางดานการทองเที่ยวที่สําคัญ ตั้งอยูบนดอยจอมทอง
บริเวณริมกวานพะเยา อยูหางจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยูตรงขามวัดศรีโคมคํา มีทางรถยนตขึ้นไป
ถึงยอดเขา ภายในวัดมี "พระธาตุจอมทอง" เปนเจดียทรงลานนาสูง 30 เมตร ตั้งอยูบนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส
กวาง 9 เมตร ซอนกันสามชั้น รองรับองคระฆัง สวนยอดสุดเปนฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบขางลางบุดวยแผนโลหะ
ดุนลายเปนรูป 12 นักษัตร และลายไทยอันงดงามมาก ลักษณะคลายพระธาตุหริภุญชัย ของจังหวัดลําพูน
โดยวัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยูบนเนินเขาตรงขามวัดศรีโคมคํา ตําบลเวียง อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา จากสี่แยก
ประตูชัย ทางหลวงหมายเลข 1 มุงหนาสูแมใจ 2.5 กิโลเมตร มีถนนเสนทางแยกดานซายมือซึ่งผานหอสมุด
แหงชาติเฉลิมพระเกียรติประมาณ 300 เมตร ที่ตั้งวัดอยูทางดานขวามือ สําหรับความเปนมานั้นเลากันวา
พระพุทธเจาเคยเสด็จมาเผยแผพระพุทธศาสนาที่เมืองภูกามยาว ประทับแรมบนดอย ตั้งอยูบนฝงหนองเอี้ยง
ทางทิศเหนือ และพระองคทรงมอบพระเกศธาตุองคหนึ่ง เพื่อนําไปประดิษฐานไวในถ้ําบนดอยนั้น ซึ่งเปนถ้ําลึก
กวา 70 วา
6. ศูนยวัฒนธรรมไทลื้อ
ศูนยวัฒนธรรมไทลื้อ ตั้งอยูที่วัดหยวนใน อําเภอเชียงคํา จัดตั้งเปนศูนยแสดงผลงาน
ทางศิลปวัฒนธรรมและฝกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผาของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส
ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยูในเขตสิบสองปนนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่
ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่สวนใหญเปนภูเขามีที่ราบแคบอยูตามหุบเขาและลุมแมน้ํา อันเปนบริเวณ
ที่อยูอาศัยและที่ทํามาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทํานาที่ลุมเชนเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแมน้ําโขง
เปนแมน้ําสายสําคัญที่ไหลผานแควนสิบสองปนนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกวา "แมน้ําของ" ในป พ.ศ. 2399
เจาสุริยพงษ ผริตเดช ผูครองนครนาน ไดอพยพมาอยูที่บานทาฟาเหนือและทาฟาใตอําเภอเชียงมวน
หลังจากนั้นมีบางสวนไดอพยพมาอยูที่อําเภอเชียงคํา ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้น
ยังเปนผูที่อนุรักษวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไวอยางดีโดยเฉพาะวัฒนธรรมการแตงกาย เปนตน
7. อนุสาวรียพอขุนงําเมือง
อนุสาวรียพอขุนงําเมือง ประดิษฐานอยูที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จยา 90)
ถนนเลียบกวานพะเยา พอขุนงําเมืองเปนกษัตริยผูปกครองเมืองภูกามยาว ลําดับที่ 9 เปนยุคที่เจริญรุงเรืองมาก
พระองคทรงเปนพระสหายรวมน้ําสาบานกับพอขุนเม็งรายแหงเมืองเชียงราย และพอขุนรามคําแหงมหาราช
แหงกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองคไดกระทําสัตยตอกัน ณ แมน้ําอิงสวนพระองคนั้น พอขุนงําเมืองเปนผูทรงอิทธิฤทธิ์
เลาขานสืบตอกันวา ยามเมื่อพระองคทรงเสด็จประพาสเยี่ยมเยือน ณ แหงหนใด “แดดก็บอฮอน ฝนก็บอฮํา
จักใหบดก็บด” พรองกับพระนาม “งําเมือง”
8. พิพิธภัณฑเวียงพยาว (วัดลี)
“พิพิธภัณฑเวียงพยาว” หรือ“วัดลี”มีความเปนมา…บนเสนทางยาวไกลจุดเริ่มตนนั้น เกิดจากแรงบันดาลใจ
และความสํานึกรักถิ่นเกิดของ พระครูอนุรกษบุรานันท เจาคณะอําเภอเมืองพะเยาเจาอาวาสวัดลี ที่ทานไดเล็งเห็นคุณคา
โบราณวัตถุซึ่งเปนสมบัติของชาติจํานวนมากถูกทอดทิ้งอยูตามวัดรางตางๆ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา จึงอนุรักษ
และนํามาเก็บรักษาไวที่วัดลี เพื่อมิใหสูญหายรวมระยะเวลากวา50 ปที่ผานมา ทําใหโบราณวัตถุมีจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั้งไมมีสถานที่เก็บเพียงพอ จึงดําริที่จะตั้งพิพิธภัณฑทองถิ่นขึ้นมา เพื่อใหเปนแหลงรวบรวมโบราณวัตถุ
และเปนแหลงเรียนรูทางดานประวัติศาสตรโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของเมืองพะเยาอีกแหลงหนึ่ง
ถือเปนจุดเริ่มตนในกาวแรก แตจะใหสําเร็จไดอยางเปนรูปธรรมตอเนื่องและยั่งยืนไดนั้นยังขาดงบประมาณ
มาสนับสนุนอยางพอเพียง กระทั้งถึงป พ.ศ. 2549 ทางจังหวัดพะเยา โดยนาย ธนเษก อัศวานุวัตร ผูวาราชการจังหวัด
ไดมีนโยบายเรงดวน ผลักดันโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑวัดลีอยางจริงจังและเปนรูปธรรม พรอมกันทุกๆ ฝาย
ทั้งภาครัฐ เอกชน และคนในชุมชนวัดลี รวมใจกันสนับสนุน จนกระทั้งสามารถจัดตั้งพิพิธภัณฑฯ ประสบผลสําเร็จ
ในป พ.ศ. 2550 ขึ้นมา
9. หอวัฒนธรรมนิทัศน
หอวัฒนธรรมนิทัศนเปนสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ รวมถึงเอกสารขอมูลสําคัญทางประวัติศาสตร
ดานวรรณกรรม ภูมิปญญาทองถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีความเปนอยูของชาวบานในจังหวัดพะเยา
เปนผลงานแหงความอุตสาหพยายามในการสืบเสาะและเก็บรักษาของหลวงพอพระอุบาลีคุณูปมาจารย
เจาอาวาสวัดศรีโคมคํา นานกวา 43 ปประกอบไปดวย ซากปรักหักพังและปติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา
(พุทธศตวรรษที่ 20 -22) อาทิ สวนเศียรและสวนองคพระพุทธรูปที่แตกหัก, ชางเอราวัณ 4 เศียร, ดอกบัวหินทราย, ถวยชามเวียงกาหลง เปนตน
10. วัดพระนั่งดิน
วัดพระนั่งดิน เปนวัดที่องคพระประธานของวัดไมมีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองคอื่นๆ
เคยมีราษฎรสรางฐานรองรับเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แตปรากฏวาไมสามารถจะยก
องคพระประธานขึ้นได แมจะพยายามยกดวยวิธีการตางๆ ที่เหมาะสมก็ไมสามารถยกขึ้นไดจึงเรียกสืบตอกันมาวา “พระนั่งดิน”ตามตํานานกลาววา พระพุทธรูปนี้ถูกสรางขึ้นมาตั้งแตครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจายังทรงพระชนมอยู
ดังนั้น พระเจานั่งดินนาจะมีอายุกวา 2500 ปและตามประวัติกลาวถึงอีกวา ในการสรางพระพุทธรูปนี้ใชเวลา
1 เดือน 7 วัน จึงเสร็จ เมื่อสรางเสร็จไดประดิษฐานไวบนพื้นราบโดยไมมีฐานชุกชีดังพระพุทธรูปอื่นๆ ทั่วไป
11. วัดนันตาราม
วัดนันตาราม ตั้งอยูบริเวณตลาดเทศบาลตําบลเชียงคํา ไมปรากฏวาสรางมาตั้งแตสมัยใด เปนวัดประจําชุมชน
ชาวไทยใหญ เดิมเรียก “วัดจองคา” เพราะมุงดวยหญาคา (คําวา “จอง” เปนภาษาไทยใหญ หมายถึง วัด)
พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญเปนผูสราง โดย พอหมอง โพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดินเนื้อที่ 3 ไรเศษ เปนสถานที่กอสราง
พอเฒาอุบล เปนประธานในการกอสรางจนสรางสําเร็จเรียบรอย มีฐานะเปนอารามหรือสํานักสงฆ
โดยประชาชนทั่วไปนิยมเรียก “วัดจองเหนือ”
12. วัดพระธาตุสบแวน
ที่วัดพระธาตุสบแวนแหงนี้มีสิ่งนาสนใจหลายอยาง อาทิบานชาวไทลื้อ ตนจามจุรีขนาดใหญ
อายุกวา 100 ป เจดียอายุเกาแกกวา 800 ป บานชาวไทลื้อที่ตั้งอยูภายในวัดมีศูนยหัตถกรรมทอผา
จากผูหญิงสูงอายุในหมูบาน งานหัตถกรรมจากผาฝาย มีใหซื้อขายและไดชมวิธีการทอผา สามารถเขาชมเรือน
ไทลื้อเพื่อรูถึงวิถีชีวิตความเปนอยูของชาวไทลื้อไดอยางละเอียด และจุดสําคัญ พระธาตุสบแวนซึ่งตั้งอยูดานหลัง
ของวิหารภายในวัดนั้น เปนเจดียเกาแกที่มีอายุมากกวา 800 ปี
13. วัดแสนเมืองมา
“วัดแสนเมืองมา” มาจากชื่อหมูบาน “มาง” ในสิบสองปนนา ประเทศจีน สถาปตยกรรมภายในวัด
สรางตามแบบศิลปะไทลื้อ รวมไปถึงปายตางๆ ในบริเวณวัดมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เนื่องจากมีชาวไทลื้อ
เดินทางไปมาหาสูระหวางประเทศไทยกับสิบสองปนนา นักวิชาการตางสันนิษฐานกันวา วัดนาจะถูกสรางขึ้น
ในสมัยยุคตนกรุงรัตนโกสินทรเพราะมีหลังคามุงแปนเกล็ดไมงดงามมากซึ่งเปนศิลปะไทลื้อ หนาบันเปนไมแกะสลัก
รูปเทพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเขาเปนรูปพญานาค ประตูดานขางทางเขามีรูปปนสิงหคูเฝาประตู
ลวนแลวแตมีความสวยงามรวมสมัย
14. วัดหยวน
วัดหยวนเปนศูนยกลางแสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ รวมทั้งเปนศูนยฝกอาชีพ
โดยเฉพาะผาทอไทลื้อ ซึ่งมีลวดลายสีสันสดใสสวยงาม ที่ตั้งอยูไมไกลจากวัดแสนเมืองมาและสถานีขนสงมากนัก
ตั้งอยูทางทิศเหนือมีระยะทางหางกันเพียง 500 เมตรโดยประมาณ นักทองเที่ยวสามารถเดินเทาเที่ยวชมได
ตอเนื่องกันไป
15. วัดทาฟาใต
วัดทาฟาใตเปนวัดที่สรางตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามมากอีกแหงหนึ่ง วิหารมีรูปแบบศิลปะไทลื้อ
กออิฐถือปูน หลังคามุงแปนเกล็ดซอนกัน 3 ชั้น หนาบัน เปนลายเครือเถาแบบไทลื้อที่ประยุกตลายมาจากธรรมชาติ
มีลายดอกไมบานอยูตรงกลาง ประดับดวยกระจกเงามีแนวคิดในการออกแบบศิลปกรรมโดยเชื่อวาเปนเสมือนสิ่งสะทอน
ความชั่วรายมิใหมาทํารายกล้ํากรายไดโดยแตงแตมสีสันผานใบระกาเปนไมสักแกะสลักเปนรูปพญานาคเชิงชายฉลุลายน้ําหยด
ซึ่งลวนแลวแตสื่อสารบงบอกเอกลักษณแหงศิลปะไทลื้อ
ที่มา : http://www.phayao.go.th/au/info/travel.pdf
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของจังหวัดพะเยา
การเกษตร
ในปี 2548 จังหวัดพะเยามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งสิ้น ประมาณ 410,825 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 431,643 ตัน มีพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ประมาณ 358,069 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 277,905ตันพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 55,809 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 37,808 ตันมีเนื้อที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ประมาณ 116,167 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 229.76 ตัน อาชีพหลักของประชากร คือ การทำนา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และยางพารา
ผลิตภัณฑ์จังหวัด
มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดพะเยา ตามราคาตลาด พ.ศ. 2548 จากข้อมูลของๅสำนักงานคลังหวัดพะเยามูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด เป็นเงิน 18,884 ล้านบาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 37,315 บาทต่อปี นับเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัว ลำดับที่ 15 ของภาค ลำดับที่ 57 ของประเทศ สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์5,139 ล้านบาท สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดรองลงมาคือ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์3,656 ล้านบาทการคมนาคมขนส่ง
จังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางคมานาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพ ฯ และระหว่างอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยา ถึง 2. ระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึง
- อ.ดอกคำใต้ 15 กม. - จังหวัดเชียงราย 94 กม.
- อ.จุน 48 กม. - จังหวัดเชียงใหม่ 134 กม.
- อ.เชียงคำ 76 กม. - จังหวัดลำปาง 137 กม.
- อ.เชียงม่วน 117 กม. - จังหวัดแพร่ 138 กม.
- อ.ปง 79 กม.
- อ.แม่ใจ 24 กม.
- อ.ภูซาง 91 กม.
- อ.ภูกามยาว 18 กม.
2.ทางด้านไปรษณีย์ จังหวัดพะเยา มีที่ทำการไปรษณีย์รวม 8 แห่ง (ที่อำเภอเมืองพะเยามี 2 แห่งคือ ที่ทำการไปรษณีย์พะเยา และที่ทำการไปรษณีย์หนองระบู
ที่มา : http://waraporn2930.blogspot.com/2013/08/blog-post_1160.html
อาชีพของประชากร
อาชีพคนพะเยา
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพเก่าอาชีพแก่ ที่อยู่คู่กับเราชาวรากหญ้ามาช้านาน
เพราะการทำเกษตรกรเป็นอาชีพหลักมาแต่เดิม ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยก็เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกจึงเลือกที่จำการเกษตร และการเกษตรเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังให้รายได้ให้กับเกษตรกรรายอื่นได้ด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรากหญ้าเป็นชาวบ้านที่ใช้ชีวิตแบบไม่สิ้นเปลืองมีเงินไม่มากการศึกษาน้อย การเกษตรจึงเป็นทางเลือกของพวกเขาที่ให้ทั้งรายได้และให้ผลผลิตที่เพาะปลูกมาใช้เอง
ความเป็นมาของอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพดั่งเดิมของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวของโลก ผู้คนในอดีตสืบทอดการทำการเกษตรให้ลูกหลานต่อกันมาเป็นทอด ๆ โดยข้าวเป็นพืชเกษตรหลักในการหาเลี้ยงชีพ ส่วนการปลูกผลไม้ ปลูก พืชผัก ผลไม้อื่น ๆ เป็นเพียงการปลูกรับประทานในครัวเรือน และแบ่งปันญาติมิตรเพื่อนบ้าน เหลือจึงขาย เมื่อการเปลี่ยนแปลงยุคเกษตรกรรมแบบตะวันตกเริ่มเข้ามาในประเทศไทย คน ไทยได้รับเอาวิธีการผลิตพืชผลเกษตรเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำเกษตรแบบ เดิมจากการปลูกพืชผสมผสมผสาน ปลูกข้าวเป็นหลัก มาเป็นการปลูกพืช ผลไม้เชิงเศรษฐกิจเพียงชนิดเดียว เป็นหลัก
การเพาะปลูก
เป็นอาชีพหลักของประชากรในภาคเหนือ พืชผลที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งมีการปลูกตามที่ราบลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ บางแห่งปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง แหล่งปลูกข้าวในภาคนี้ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูนแพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ดีและกระทำกันหนาแน่นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบหุบเขา ได้แก่ ยาสูบ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ใบชา หอม กระเทียม ผลไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สำไย ลิ้นจี่ มะม่วง รวมทั้งผลไม้เมืองหนาวเช่น สตรอเบอร์รี่ ลูกต้อ แอปเปิล ซึ่งทั้งหมดนี้จะให้ผลผลิตสูงในฤดูหนาว
การทำนาในจังหวัดพะเยา นิยมการทำนาดำและยังทำนาได้หลายฤดูกาล เพราะพะเยาเป็นเหมือนแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำให้ใช้ได้ตลอดปี ส่วนในพื้นที่ราบสูงเนื่องจากพื้นที่เล็กต้องมีการสร้างคันนาและเหมืองฝายกันน้ำ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
การเลี้ยงสัตว์
เป็นอาชีพที่มีความสำคัญรองจาการเพาะปลูก ภูมิประเทศภาคเหนือเป็นภูเขา หุบเขาและที่ราบระหว่างภูเขาทำให้พื้นดินมีหญ้าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ตลอดปี สัตว์ที่เลี้ยงมาก ได้แก่ โค กระบือ สุกร โคเลี้ยงกันมากันโคนมและโคเนื้อ คนพะเยาส่วนมากมักเลี้ยงในครัวเรือน เลี้ยงบนบ่อเลี้ยงปลา หรือไม่บางครั้งเรือนก็เลี้ยงเพื่อประกอบอาชีพหลัก
การประมง
ภาคเหนือมีการประมงน้ำจืดตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และการประมงตามแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ส่วนการประมงหลักของคนพะเยาเป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อธุรกิจและยึดเป็นอาชีพหลักคือการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เลี้ยงกุ้ง ส่วนเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำก็ทำประมงตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้มาเพื่อกินส่วนหนึ่ง อีกส่วนนำขาย
ที่มา : http://witanyasangsuwan.blogspot.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)